Sunday, November 7, 2010

คิด คิด เท่าไร คิดไม่ออกซะที?

รูปนี้มาจากที่นี่

"คิด คิด เท่าไร คิดไม่ออกซะที?" ผมดึงเอา Long-term memory ที่เคยฟังเพลงนี้ น่าจะของวง XYZ กระมั้งถ้าจำไม่ผิดครับ--เห็นไหมถึงแม้นึกออก ก็ยังได้ข้อมูลมาไม่สมบูรณ์ นี่ก็เรียกว่า Recognition อย่างไรละครับ หวังว่าคงจะ"จำกันไม่ได้"--เพราะไม่งั้นผมก็ไม่มีอะไรจะเขียนอีกต่อไป ^^

วันนี้เราจะมาว่ากันถึง การคิด(Thinking) โดยการคิด หรือ Thinking นี้ มันคือการรวบรวม memory ในส่วนต่างๆที่เรารับรู้เข้ามาจากประสาทสัมผัสต่างๆ(Sensory memory) รวมกันจนเป็น "ข้อมูลที่มีความหมาย" โดยอาจจะเชื่อมโยงกับประสบการณ์(Experience) และ การเรียนรู้(Learning) ของเราในอดีต(หรือขณะปัจจุบัน) ที่เก็บอยู่ใน Long-term memory ของเรานั่นเอง เพื่อที่เราจะได้สามารถแก้ปัญหา(Problem Solving) เพื่อบรรลุจุดหมายของเราได้จากการคิดนั้นนั้น นี่คือคำจำกัดความของ "การคิด(Thinking)" นั่นเองครับ (ซึ่งจริงๆแล้วผมเองยังสงสัยว่า ภายใน "สมอง" ของเราเนี่ย อะไรมันทำงานอย่างไรอยู่เช่นเดิม แล้วไว้ผมจะพยายาม "หาข้อมูลมาป้อนใส่ memory ของผม เพื่อที่ผมจะได้เรียนรู้มัน และสามารถคิดจนได้จบกระบวนการ")
คิดว่าเราคงจะรู้จัก และเคยเล่นไอ้ก้อนลูกบากศ์ที่มีสีอยู่หกสี(รูบิค--Rubik cube)ในรูปข้างต้นกันไม่มากก็น้อยนะครับ มี VDO สอนการเล่นด้วยครับ(ไอ้ยูทูปนี้มันมีสารพัดจริงๆ!!)






ไอ้ผมเองก็เคยเล่นเหมือนกันตอนดูโลกมานานสัก 10 ปีได้กระมั้งครับ ให้ทายว่าผมแก้มันสำเร็จไหม? ^^ สำเร็จครับ แต่โกง! 555 แล้วตอนนี้หละ ดูโลกมาเกือบ 40 ปี (ตูแก่ขนาดนี้แล้วหรือฟะ!!!) ก็ยังทำไม่ได้เหมือนเดิมครับ! (เพราะไม่ได้เล่นมันอย่างจริงจัง หรือเพราะปัญญามีแค่นี้ก็ไม่มีใครทราบได้) เห็นใน YouTube มี VDO บอกว่าเด็กน้อยชาวจีน อายุแค่ 3 ปี แก้ได้ใน 114 วินาที!!!







สมมติว่าไอ้เจ้ารูบิคคือปัญหาที่เราจะแก้มัน เราควรทำอย่างไร? สวดมนต์อ้อนวอนเทพยดาฟ้าดินให้เราแก้ปัญหารูบิคอันพิศดารได้ด้วยเถิด ^^ ?? ม่ายช่ายยย!!

ก่อนอื่นทุกคนโดยทั่วไปก็จะมองดูมัน หรือหยิบจับมันมาลองหมุนเล่นดูซิ หลังจากหยิบจับมันมาพิศดูรูปลักษณ์ ก็สรุปว่าทำไม่ได้ กลับบ้านนอนดีกว่า!! ใจเย็นๆครับ ใจเย็นๆ ในที่สุดก็มีคนตะโกนบอกว่า (ทำไมต้องตะโกนก็มิทราบได้ ^^) "ผลสำเร็จที่ต้องการก็คือ ทำการบิดไอ้เจ้ารูบิคนี้จนมันมี 6 หน้า 6 สี ไม่ซ้ำกัน" ไอ้นี้ก็คือเป้าหมายของเกมนี้ ไอ้ตรงนี้ ภาษาทางจิตวิทยาเขาเรียกว่า "Mental Images" คือการรับรู้ถึงปัญหาผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งหมด (ตาดู หูฟัง กายสัมผัส)

ซึ่ง Mental Images ที่เรามีต่อไอ้คุณรูบิคนี่ เราอาจเคยรู้จักมันมาก่อน หรือเพิ่งจะเคยเห็นมันครั้งแรกก็ตามที(เชยจัง!) จากประสบการณ์ที่อยู่ในความจำของเรา เราก็อาจจะสรุปได้ว่า "อ้อ นี่คือเกมที่อาศัยตรรกะ(Logic)ในการแก้ปัญหาชนิดหนึ่งนี่" การที่เรา "อะอ้อ!" ว่ามันคือเกม ภาษาทางจิตวิทยาเขาเรียกว่าเรากำลังให้ "Concepts" กับปัญหาที่เราพบ แต่หากว่าคุณคือ "ชาวป่าในแอฟริกา" ซึ่งไม่เคยเห็นไอ้คุณรูบิคมันมาก่อนเลยในชีวิต คุณอาจจะให้ Concepts ว่ามันคือ "ก้อนหิน" ก้อนหนึ่งเท่านั้น นี่เขาเรียกว่า Perception ต่างกัน (Perception ก็คือ การที่เราเห็นสิ่งเร้าสิ่งหนึ่ง แล้วพยายามสร้างภาพมันขึ้นมาให้มีความหมาย ตามที่ประสบการณ์ของเรามี)

หลังจากเรารับรู้สภาพของปัญหา(Mental Images) แล้วอาศัยความรู้ประสบการณ์ที่เรามีบอกตัวเราว่าปัญหามันคืออะไร(Concepts) แล้ว ต่อไปเราก็จะทำการ"ตัดสินใจ"แก้ปัญหานั้นอย่างไรก็ตามแต่ ทางจิตวิทยาเขาเรียกกระบวนการนี้ว่า "Problem Solving or Decision Making or Reasoning" ซึ่งเราต้องอาศัยอีกสิ่งหนึ่งในการแก้ปัญหานั้นเรียกว่า "Cognition" โดยอาจจะทำตามใน VDO ข้างต้นในการแก้ปัญหารูบิคนี้ โดยที่ก็ไม่ทราบอย่างแท้จริงว่ามันต้องแก้แบบนั้นเพราะอะไร เหมือนๆกับการที่เราทำตามกฎ หรือ Instuction ที่เขาบอกมาว่าแก้ไขได้แน่ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า "Algorithm" หรือเราอาจจะลองแก้ปัญหาด้วยตัวเราเองโดยอาศัยความรู้ที่มี แต่ก็ไม่แน่ใช่ไหมครับว่าเราจะแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเราเอง กระบวนการแบบนี้เรียกว่า "Heuristic" (ถ้าเปลี่ยนปัญหาเป็น "การสร้าง Software ป้องกันไวรัส Computer" Algorithm ก็ใช้สำหรับ virus ที่เราทราบวิธีการทำงานของมันแล้ว ส่วน Heuristic ก็คือขั้นตอนหรือกระบวนการที่เราคิดขึ้นไว้กำจัด virus computer ที่มีคนมือบอนอยู่ไม่สุข ชอบอวดศักดาอภินิหาร สร้างขึ้นมาใหม่นั่นเองครับ)

แต่มีสิ่งหนึ่งที่ตัวเราเองนี่แหละครับมีอยู่ก็คือ "Mental Set" ที่เกิดจากประสบการณ์(Experience)ของเรา ความรู้(Knowledge)ของเรา วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม(Culture and Surrounding)ที่เราอาศัยอยู่ และรวมถึงทัศนคติ(Attitude) ที่จะมาบดบังการแก้ปัญหาของเรา ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราสะดุดขาตัวเองล้มก็มีนะครับ ^^ เช่น เมื่อสักครู่ผมได้ดู VDO การแก้ปัญหาเจ้ารูบิค ด้วย Algorithm หนึ่ง โดยเขาจะหาเพลทสีหนึ่งที่อยู่ตรงกลาง แล้วพยายามแก้ให้ได้หน้ารูบิคหนึ่งหน้าเป็นสีนั้น โดยใช้ Algorithm ของเขา สิ่งที่ผมรับเข้ามานี้ เกิดเป็น Mind Set ของผมไปแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่งครั้งต่อไปถ้าผมพยายามเล่นเกมเจ้ารูบิคเนี่ย ผมก็อาจจะติด Mind set นี้ไปด้วยครับ ^^ ซึ่งจริงๆแล้วอาจมีวิธีการอื่นๆ(Algorithm อื่นๆ หรืออาจจะเป็น Heuristic ของผมเองก็ได้ ใครจะรู้ 555)ซึ่งง่ายกว่านั้นก็เป็นได้

ก็ขอจบ post นี้ด้วยประการนี้
เอวัง




ref: Psychology and your life/Roberts S. Feldman/McGraw-Hill International edition

Sunday, October 31, 2010

จำกันบ่ได่ก๋า: ตอน ก็เคยสัญญา???

ภาพจาก ที่นี่

ตอนที่แล้วของ จำกันบ่ได่ก๋า: ตอน Memory ผมได้กล่าวถึง กระบวนการในการรับข้อมูลเข้ามาสู่ความจำของเรา และความจำของเรามีการจัดแบ่งส่วนกันอย่างไรบ้าง ถ้าจำกันไม่ได้ก็ย้อนรอยกลับไปดูได้ครับ (แค่ post ก่อนหน้านี่เอง ^^ ) สำหรับ post นี้ ผมจะมาพูดถึงกระบวนการ "Recall (การเอาข้อมูลที่เก็บไว้ออกมา" รวมทั้ง "Forgetting (ทำไมเราถึงจำกันบ่ได่ก๋า)" (แต่ในแนวทางแบบ Software ก่อนนะครับ)

เริ่มต้นเลยก็ขอบอกไว้เลยว่า "ถ้าเราจัดเก็บข้อมูล/สารสนเทศได้ดีมากเท่าไร เราจะยิ่งสามารถนำมันกลับมาได้ง่ายกว่าการจัดเก็บแบบมั่งซั่ว" มันก็เหมือนเราเก็บข้าวของทั่วไปนั่นแหละครับ จัดวางเป็นระเบียบ ก็สืบค้นสืบหาได้ง่าย ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น(ไม่ทราบเหมือนกันว่า "ฉันท์" ในความหมายนี้ควรสะกดแบบที่ว่า หรือ แบบนี้ "ฉัน" ต้องขออำภัยที่ตกภาษาไทย แต่อ่อนภาษาอังกฤษครับ ^^ )

ก่อนที่เราจะเอาข้อมูลใดๆออกมาได้ "บางครั้ง"จะเกิดอาการที่เรียกว่า "คลับคล้ายคลับคล้า หรือว่า คุ้นๆๆแฮะ" ใช่ไหมครับ? ใครเคยเป็นยกมือขึ้น? ภาษาปะกิตเขาเรียกว่า "Recognition" แล้วไอ้คุ้นๆเนี่ย มันเกิดมาจากการที่ เช่น เราไปเห็นหน้าคนๆหนึ่ง แล้วรู้สึกว่าคุ้นๆแฮะ เหมือนเคยเห็นที่ไหน หรือการที่เราได้ยินเสียงคนๆหนึ่ง เราก็คุ้นๆอีกแล้วแฮะ ว่าเหมือนเสียงคนรู้จักเลย หรือว่าเราอ่านหนังสือเจอคำศัพท์ เราก็คุ้นๆอีกแล้วแฮะ แต่เราไม่สามารถนึกได้ว่าเป็นใคร? อะไร? ที่ไหน? ได้อย่างแน่นอน (ก็คือยังไม่เกิดการ Recall ออกมาได้) ไอ้เจ้าหน้าคน,เสียงคน,คำศัพท์ ที่ทำให้เราเกิดความคุ้นๆ คล้ายๆ ละม้าย นี่เขาเรียกว่า "Retrieval cue" มันเป็นตัวกระตุ้นให้เราเกิดการระลึกถึง(Recognition) อ่านๆมาจนถึงตรงนี้ ผมว่า "ไอ้จำได้เลย หรือ Recall" เนี่ย มันยากกว่า "คุ้นๆ คลับคล้ายคลับคลาย ละม้าย หรือ Recognition" มากมายก่ายกอง และไอ้ปรากฎการณ์ละม้ายนี่นะครับ ภาษาทางด้านจิตวิทยาเขาเรียกว่า "Tip-of-the-tounge phenomenon"

การที่เราจะเปลี่ยนการละม้าย คล้ายๆ คุ้นๆ เป็น "ฉันจำได้แน่ (Recall)" เราต้องใส่ใจกับข้อมูล/สารสนเทศนั้นๆ(pay attention) ตั้งแต่รับข้อมูลเข้ามาจาก Sensory memory ส่งข้อมูลที่เป็นความหมายนั้นเข้าสู่ Short-term memory แล้วนำข้อมูลที่มีความหมายนั้นรวมกับข้อมูลเก่าที่มี หรือฝึกฝนบ่อยๆ จนเก็บข้อมูลนั้นไว้ได้ใน Long-term memory ครับ ส่วนข้อมูลที่เราสามารถ "จำได้(Recall)" ออกมาโดยตั้งใจนึก เราเรียกความจำที่เราตั้งใจนึกออกมาได้แบบนี้ว่า "Explicit memory--intentional or concious recollection of memory" ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะถูกดึงออกมาจากส่วน Declarative memory ส่วนการที่เราจำได้โดยประมาณสันชาตญาณ เราเรียกว่า "Implicit memory--not conciously aware" ซึ่งจัดเก็บอยู่ในส่วน Procedural memory นั่นเองขอรับ ยังมีความจำที่นักจิตวิทยาเขาให้คำจำกัดความไว้อีก คือ "Flashbulb memory" ก็คือความจำที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญต่างๆ จริงๆแล้วก็คือการดึงข้อมูลมาจากส่วนของ Episodic memory และ Semantic memory นั่นเองขอรับกระผม

แต่ก็มีนักจิตวิทยาในรุ่นต่อๆมา กล่าวว่าไม่เพียง "การจักเก็บข้อมูลที่ดี" เท่านั้นที่ทำให้คนเรานึกหรือจำอะไรได้ดี และก็มิใช่มีเพียงสิ่งกระตุ้น(Retrieval cues) อย่างเดียวเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆอีก เช่น ประสบการณ์ในอดีต(Previous experience) สถานการณ์ในขณะนั้น(Understanding of the situation) ความคาดหวังต่อเหตุการณ์(Expectation about the situation) การตระหนักถึงพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์นั้นๆ(Motivations underlying the behaviors of others) เช่น เราเห็นหน้าใครคนหนึ่ง ถ้ามีเพียงแค่ Retrieval cue คือ หน้าของบุคคลนั้น เราอาจจะแค่คุ้นๆ ละม้าย คล้ายคลึง แต่ถ้าในอดีต เราเคยมีประสบการณ์ที่ดีมากหรือแย่มาก กับหน้าคนผู้นั้น(เช่น เคยรักใคร่ชอบพอกันมาก่อน หรือเคยเกลียดกันมาก่อน) อาจทำให้เราเรียกความจำของเราออกมาได้ชัดเจนกว่า ถ้ามองในมุมมอง Hardware(ผมจะพยายามกล่าวถึงการทำงานในระดับ Neuron cell ต่อไปครับ) กล่าวคือ Neuron หนึ่งเซล จะส่งกระแสเชื่อมโยง(link)กัน จนเราสามารถจดจำอาจจะถึงภาพเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญเกี่ยวกับบุคคลผู้นั้นได้ แม้เวลาจะล่วงเลยไปนานแล้วก็ตาม และเราไม่เคยได้ใช้ความทรงจำในส่วนนั้นมานานมากแล้วก็ตาม กล่าวได้ว่า "การสลายไปตามการณ์เวลา(Decay)" ไม่ได้ทำให้เราหลงลืมข้อมูลไปทั้งหมด

แล้วอะไรทำให้เราลืม(Forgetting) มีอยู่อีกสองประเด็นที่นักจิตวิทยาเขาว่ากันไว้ครับ คือ "การถูกขัดจังหวะ(Interference)" และ "มีสิ่งกระตุ้น(Cue-dependent forgetting--not enough retrieval cues)ไม่เพียงพอ"

Cue-dependent forgetting เช่น เราลืมกุญแจทิ้งไว้ที่บ้าน แล้วก็ออกจากบ้านไปทำงานโดยปกติ จนเราถึงที่ทำงาน ซึ่งเราต้องใช้กุญแจไข เราถึงนึกได้ว่าเราลืมกุญแจทิ้งไว้ที่บ้าน

Interference เช่น เราเรียนภาษาฝรั่งเศส แล้วไปเรียนภาษาสเปนต่อ และมี Test ภาษาสเปน แต่เราดันจำภาษาฝรั่งเศส ได้อยู่ เลยทำ Test ภาษาสเปนไม่ได้ อย่างนี้ภาษาฝรั่งเศสคือ Interference ซึ่งเรียกว่า "Proactive Interference" ยกตัวอย่างเดิม แต่เปลี่ยน Test ภาษาฝรั่งเศสแทน แล้วทำไม่ได้ อย่างนี้การเรียนภาษาสเปนเป็น Interference ที่เรียกว่า "Retroactive Interference

แล้วทำอย่างไรถึงจะมีความจำดี??? ผมว่าก็ save ใส่ SD card ดังในภาพประกอบ post ดูก็น่าจะดี พอต้องการใช้ก็เอามาเสียบแล้วอ่านเอาข้อมูลออกมา !!! ดีไหมครับ??? ^^/

จริงๆแล้วผมว่าอย่างที่ผมบอกตอนต้น ก็จัดการเก็บข้อมูล/สารสนเทศที่รับเข้ามาให้ดีตั้งแต่ต้น โดยการใช้วิธีของแต่ละบุคคลที่ถนัด ก็อย่างเช่น เชื่อมโยงข้อมูลนั้นกับข้อมูลที่เราคุ้นเคย จด Note และพยายามนึกถึง Lecture ที่เข้าฟัง หรือฝึกฝนฝึกทำบ่อยๆจนคล่อง หรือใครอาจจะชอบท่องจำแบบพิศดาร หรือพยายามจดจำแบบรู้ความหมายของมัน ฯลฯ

แต่ที่แน่ๆ นักจิตวิทยาเขาเตือนไว้ครับ ว่าไม่ต้องไปพึ่งยาที่โฆษณาหรอกครับ เพราะไม่มีผลการวิจัยสนับสนุนว่าช่วยได้ ผมก็ไม่ทราบข้อเท็จจริงหรอกครับ ก็เอามาเล่าให้ฟัง (แต่ส่วนตัวผมว่ามันก็คงมีสารเคมีอะไรอยู่บ้าง และมันเป็นกลไกทางจิตวิทยาที่ทำให้เรารู้สึกว่า เออเว้ย เรากินยาแล้ว อ่านหนังสือต้องจำได้ดีแน่ มันก็เลยทำให้เราอ่านหนังสือจั๋งนั้นแหละครับ ^^)

ก็ขอกล่าวสวัสดีกันตรงนี้กับ post นี้

Ref: Psychology and your life/Robert S. Feldman/McGraw-Hill



Friday, October 29, 2010

จำกันบ่ได่ก๋า: ตอน Memory

ผมเคยสงสัยหลายครั้งครับว่า "เราเกิดมาทำไม?" และ "ตายแล้วจะไปไหน?" โดยทั้งสองคำถามจวบจนอายุปาเข้าไปครึ่งคนครึ่งสัตว์!!! ผมยังหาคำตอบไม่ได้เลยครับ ยิ่งกับคำถามข้อหลังก็คงยังตอบไม่ได้แน่ เพราะยังม่ายตาย ^^ (และก็ยังม่ายอยากตายด้วยสิ)



ยังงั้นผมว่า ผมคงจะหาคำตอบในข้อแรกดีกว่า พอเป็นไปได้หน่อย เป็นไปได้ครับแต่ตอบยากส์ ผมว่าแล้วแต่บุคคล เพราะคงขึ้นอยู่กับทัศนคติ(Attitude) ประสบการณ์(Experience) การศึกษา(Education--ในที่นี้ผมมิได้กล่าวถึงการศึกษาตามใบปริญญาบัตรหรอกนะครับ เพราะผมเห็นบางคนเรียนซะสูงส่ง แต่จริงๆแล้วเหมือนแค่มีกะโหลกหุ้มก้อนเนื้อเอาไว้เล่นๆ!!) และศีลธรรม(Moral) รวมกันทั้งหมดที่กล่าวไปนั่น "ผมก็ยังตอบไม่ได้ว่า คนเราเกิดมาทำเตี้ยอะไร?"

เพื่อใช้ชีวิตไปวันๆ ทำหน้าที่ที่ใครก็ไม่รู้กำหนดให้ทำ ตื่นเช้า อาบน้ำ กินข้าว ไปเรียนจนจบ แข่งแย่งกันทำงานเพื่อให้ได้กินข้าวอร่อยๆ กินข้าว ไปทำงานต่อ กินข้าว กลับบ้าน อาบน้ำ นอน ตื่นเช้า กินข้าว...วนเป็นลูปไม่รู้จบ บางคนก็มีผัวมีเมียมีลูก ก็ต้องซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปตีกบตีเขียด ไปเที่ยว ไปดูหนัง บางคนก็มีคู่อริ บางคนก็ใส่เกือกไปแกล้งเขา...สารพัดสารพันที่เราเองนั่นแหละสรรสร้างมันขึ้นมา จนแล้วจำนวนคนวนอยู่ในลูปนั้น ก็มากจนเป็นหลัก 6000 ล้านคน วนวนวนวนวนวนวน....จนร่างกายสิ้นอายุขัย หรือหมดสภาพนั้นแล หรือใครโชคร้ายหน่อย สะดุดกระดาษทิชชู่ตาย หรือไม่ดูแลร่างกาย ใช้อย่างเดียว จนสิ่งมีชีวิตตัวเล็กจิ๋วหลิวฆ่าตายซะงั้น จนคนที่วนก็หมดเวลาวน ก็มีคนใหม่เกิดขึ้นมาให้วนอีก เป็นอย่างนี้เรื่อยไป(คนพวกหลังนี่คงตอบคำถามข้อหลังได้แล้วมั้งครับ ไม่มาบอกกันเลย งกชะมัด ^^ ) ชีวิตคุณเป็นอย่างนี้หรือไม่???????? หรือนี่คือ "คำตอบว่า เราเกิดมาทำไม?" (ผมว่าเราก็แค่เกิดมาจากการที่ชายหญิงสองคนเล่นสาหนุกกาน จนไอ้อ๊อด ไปเจอที่ทำรังเข้า คนเลยเกิดมามิใช่รึ ^^)

ไอ้ข้างบนไม่ใช่คำตอบของผม ผมยังตอบไม่ได้ครับ แม้จะอายุปาเข้าไปครึ่งคนครึ่งสัตว์อย่างที่ว่า!! เมื่อตอบไม่ได้ ก็ไม่ต้องหาคำตอบให้เหนื่อยหน่าย (ใช้ชีวิตอยู่ในลูปต่อไป) ผมเลยมาสนใจว่า "ร่างกายเรานี่สิ อัศจรรย์ยิ่งนัก" แต่ก่อนสมัยเด็กๆ ไม่รู้ผมไปได้ยินมาจากใคร หรือเซลประสาทเล็กๆในหัวผมรวมหัวกันคิดได้เอง ว่ามี 2 สิ่งในโลกนี้ที่อัศจรรย์ หนึ่งคือ "ภายในร่างกายของเรา" และสองคือ "ปู้นนนนอกโลก ในจักรวาลอันไกลโพ้น(อาจจะต้องไปถาม James T. Kirk กัปตันยาน USS Enterprise)" ไอ้ข้อหลังชักจะไกลเกินไป แล้วส่วนมากก็เป็นเพียง "ทฤษฎี" ซะส่วนมาก ผมเลย "ถูกบังคับ(เนื่องจากเป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์)ให้หันมาสนใจในร่างกายของตนแทน" แต่ผมก็ไม่ได้เก่งซะขนาดนั้น รวมทั้งขี้เกียจด้วย(แล้วใครจะทำไมฟะ!) ก็รู้อย่างปลาๆงูๆ โดยส่วนที่ผมสนใจที่สุดคือ "สมอง(Brain) และจิต(Mind)" ดังคำที่เขาว่าไว้ "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" ผมเลยอยากเป็นนาย!!

ใน post นี้ก็เลยจะมาว่ากันถึง "Memory" เป็นเบื้องต้น โดยจะกล่าวในส่วน Software ก่อนครับ(เพราะ Hardware มันยากจัง ศัพท์มันเรียกยาก ผมเลยจำไม่ค่อยจะได้)

Memory ของเรา มีอยู่ 3 ส่วน คือ Sensory Memory, Short-term Memory, Long-term Memory ครับ...จบ!
ยัง!!...
Sensory Memory เนี่ย ถ้าจะว่ากัน มันก็คือข้อมูลที่เรารับเข้ามาจากประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น ตา หู จมูก สัมผัสต่างๆ โดย Memory ในส่วนนี้เราสามารถลืมได้ใน 1 วินาทีเท่านั้น ถ้ามันเป็นข้อมูลที่ไม่มีความหมายจะไม่ส่งผ่านไปใน Memory ส่วนต่อไป คือ Short-term Memory ในส่วนนี้เราสามารถลืมได้ภายใน 15-25 วินาที เป็นส่วนที่ข้อมูลที่รับมามีความหมายเป็นที่แรก Memory ในส่วนนี้นั้นมีความสามารถไม่มากนัก ข้อมูลที่สามารถเก็บได้ มีประมาณแค่ 7 items (เรียกว่า Chunk) ถ้าไม่มีการเชื่อมโยงกัน หรือตอกย้ำลงไปจะไม่สามารถส่งผ่านไปยัง Long-term Memory ได้  กระบวนการนี้เรียกว่า "Rehearsal"
ยกตัวอย่าง เช่น ข้อมูลนี้ PBSFOXCNNABCCBSMTVNBC ถ้าเราจัดเรียงเป็นกลุ่มเสียใหม่เป็น PBS FOX CNN ABC CBS MTV NBC เราสามารถจะจำได้ง่ายขึ้น (แบบนี้เขาเรียกว่า Elaborative rehearsal คือ การจัดเรียงข้อมูลตามตรรกะ หรือเชื่อมโยงกับข้อมูลเก่า หรือจำเป็นรูปต่างๆ หรืออื่นๆ)

เมื่อข้อมูลเข้ามาถึงส่วน Long-term Memory เราจะสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด(ตามทฤษฎี) โดยมีการจัดเรียงและเชื่อมโยงข้อมูล(Memory modules)ให้เราสามารถเรียกใช้ได้เมื่อต้องการ โดย Long-term Memory แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Declarative memory (ข้อมูลเกี่ยวกับ"สิ่งต่างๆ" (Fact) เช่น หมวก จักรยานมีสองล้อ) และ Procedural memory(ข้อมูลเกี่ยวกับ "การทำสิ่งต่างๆ" (Skills) เช่น การขี่จักรยาน)

Declarative memory ยังแยกออกเป็น Sematic memory (Facts,ความรู้ทั่วไป,Logic) และ Episodic memory (ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ) เช่น การจำได้ว่า "เมื่อไหร่ และ อย่างไร" ที่เราเรียน 2x2 = 4 คือความจำส่วน Episodic memory แต่ความจริงที่ว่า 2x2 มันเท่ากับ 4 นี่อยู่ในส่วน Sematic memory

ทั้งหมดข้างตนก็คือ พื้นฐานว่าเราเก็บความทรงจำต่างๆกันอย่างไร (ในรูปที่เรียกว่า software ที่คนที่ไม่ได้เรียนมาทางสายแพทย์สามารถเข้าใจได้ครับ ถ้ามีโอกาส ผมยังอยากจะนำเสนอในรูปแบบ hardware ด้วย) สุดท้ายขอสรุปง่ายๆด้วยแผนภาพครับ

ref: Psychology and your life/Robert S. Feldman/McGraw-Hill

สายัณห์สวัสดี

Andriod: A robot that looks like a real person?

วันนี้ผมจะมาพูดถึง"หุ่นยนต์" ตามที่จั่วหัวไว้...แต่คงจะยังไม่ใช่หุ่นยนต์ในความหมายว่า"หุ่นยนต์" งงไหมครับ?? ก็น่าจะงงอยู่หรอก เพราะผมยังมึนๆอยู่เหมือนกัน ^^

จริงๆแล้วท่านผู้หลงเข้ามาอ่าน เมื่อเห็นรูปที่ post ไว้กับ "บอก" นี้ก็คงจะทราบตั้งนานแล้วว่าผมกำลังจะพูดถึงอะไร ^^

ครับ..หุ่นยนต์ที่เหมือนคนจริงๆ!!!! ^^

ไม่ใช่ครับผมจะพูดถึง...หุ่นยนต์ที่เหมือนคนจริงๆ!!!! ^^ (มันยังไม่เลิกหน้าด้านแฮะ) ...เล่นพอแล้ว เดี๋ยวหมดเวลาพอดี ผมจะพูดถึงระบบปฏิบัติการที่ Google เขาเอาไปปักธงรบไว้ในสงครามตลาดมือถือ (เห็นได้ข่าวว่าอัตราการเติบโต ตามมาติดๆ กับ iPhone ของพี่ Steve Jobs เขาหละครับ) ดู market share ด้านล่างครับ


ตามข้อมูลข้างต้น แซง OSX ไปแล้วครับที่ Q1 2010 เข้าใกล้ RIM ที่ตกลงมาด้วยครับ!!
ว่าแล้วดูวีดีโอการโชว์พาว iPhone 4 Vs Samsung Galaxy S กันดีกว่า



 


ไอ้รูปลักษณะภายนอกมันก็น่าสนใจอยู่ แต่คนกระเป๋าแฟบอย่างผม ไม่มีปัญญาเป็นเจ้าของหรอกครับ
-_-" (ว่าจะเอาที่นาไปขายเพื่อไปถอย Samsung Galaxy S มารีดผ้าซะหน่อย บังเอิญก็ไม่มีนาซะอีก!!) ก็เอาเป็นว่ามาดูข้างในมันดีกว่าว่ามันคืออะไร? ประกอบด้วยอะไรบ้าง? เพื่อประดับความรู้ไว้ในโลกา ไม่ให้ฝรั่งมังค่าเขาดูถูกเอาได้ครับ

ก็ขอเริ่มจาก Andriod คืออะไร? 
มันก็เป็น Software บนมือถือ Smart Phone(เพราะมันฉลาดมากกว่า โทรออก-รับสาย) โดยตัว Andriod ประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการ(Operating system), Middleware, และ Application ต่างๆ โดย Andriod มี Achitecture ตามรูปด้านล่างครับ


โดยส่วนล่างสุดของ Andriod Architecture คือ Linux Kernel ครับ ก็ให้บริการด้านต่างๆ ด้าน Core System Services ได้แก่ Security, Memory management, Process management, Network stack, and Driver เป็นหน้าด่าน (Abstraction layer) ติดต่อกับ Hardware (คือ hardware ตัวใดต้องการ build Andriod ก็ต้องสามารถลง Linux kernel ได้นั่นแหละครับ)

Layer ต่อมา คือ ส่วน Libraries และ Andriod Runtime

Andriod Runtime ประกอบด้วยสองส่วนคือ Core Library(ส่วนนี้คือ Java compiler นั่นเองครับ) และ DalvixVM(Dalvix Virtual Machine--สร้างโดย Dan Bornstein) กล่าวคือ Application ต่างๆใน Android สร้างด้วย Java language แล้วถูก compiling เป็น .dex format(โดย dx tool) แล้ว run บน DalvixVM โดยสามารถ run ได้หลาย VMs ในคราวเดียวกัน

Libraries ถูกพัฒนาโดยภาษา C/C++ และผู้พัฒนาโปรแกรม(Andriod Developer) สามารถเรียกใช้งานได้ผ่าน Andriod Application Framework โดย core libralies ประกอบด้วย
  • System C library คือ libc สำหรับ Embeded linux
  • Media Libraries คือ support files ด้าน media ต่างๆ (based on PacketVideo's OpenCORE) เช่น MPEG4, H.264, MP3, AAC, AMR, JPG, PNG
  • Surface Manager จัดการการเข้าถึงการแสดงผลต่างๆ
  • LibWebCore คือ web browser engine
  • SGL คือ 2D graphics engine
  • 3D libraries คือ สำหรับ optimizing 3D H/W (based on OpenGL ES 1.0 APIs)
  • FreeType จัดการ render bitmap และ vector font
  • SQLite คือ lightweight relational database engine
layer ต่อมาคือ Application Framework จริงๆแล้วก็ตือ Framework API  ที่ให้ Android Developer ติดต่อ/ใช้ resources ต่างๆในการสร้าง applications ประกอบด้วย
  • Activity Manager
  • Window Manager
  • Contents Provider
  • View System
  • Package Manager
  • Telephony Manager
  • Resource Manager
  • Location Manager
  • Notification Manager
ส่วน layer บนสุด Applications layer คือ applications พื้นฐานที่ Andriod มีมาให้ เช่น email client, SMS program, calendar, maps, browser, contacts และอื่นๆ

และทั้งหมดนี่คือ โครงสร้างพื้นฐานของ Andriod สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาโปรแกรมบน Andriod ต้องเรียนรู้ไว้ครับ ^^

Aufwiedersen