ผมเคยสงสัยหลายครั้งครับว่า "เราเกิดมาทำไม?" และ "ตายแล้วจะไปไหน?" โดยทั้งสองคำถามจวบจนอายุปาเข้าไปครึ่งคนครึ่งสัตว์!!! ผมยังหาคำตอบไม่ได้เลยครับ ยิ่งกับคำถามข้อหลังก็คงยังตอบไม่ได้แน่ เพราะยังม่ายตาย ^^ (และก็ยังม่ายอยากตายด้วยสิ)
ยังงั้นผมว่า ผมคงจะหาคำตอบในข้อแรกดีกว่า พอเป็นไปได้หน่อย เป็นไปได้ครับแต่ตอบยากส์ ผมว่าแล้วแต่บุคคล เพราะคงขึ้นอยู่กับทัศนคติ(Attitude) ประสบการณ์(Experience) การศึกษา(Education--ในที่นี้ผมมิได้กล่าวถึงการศึกษาตามใบปริญญาบัตรหรอกนะครับ เพราะผมเห็นบางคนเรียนซะสูงส่ง แต่จริงๆแล้วเหมือนแค่มีกะโหลกหุ้มก้อนเนื้อเอาไว้เล่นๆ!!) และศีลธรรม(Moral) รวมกันทั้งหมดที่กล่าวไปนั่น "ผมก็ยังตอบไม่ได้ว่า คนเราเกิดมาทำเตี้ยอะไร?"
เพื่อใช้ชีวิตไปวันๆ ทำหน้าที่ที่ใครก็ไม่รู้กำหนดให้ทำ ตื่นเช้า อาบน้ำ กินข้าว ไปเรียนจนจบ แข่งแย่งกันทำงานเพื่อให้ได้กินข้าวอร่อยๆ กินข้าว ไปทำงานต่อ กินข้าว กลับบ้าน อาบน้ำ นอน ตื่นเช้า กินข้าว...วนเป็นลูปไม่รู้จบ บางคนก็มีผัวมีเมียมีลูก ก็ต้องซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปตีกบตีเขียด ไปเที่ยว ไปดูหนัง บางคนก็มีคู่อริ บางคนก็ใส่เกือกไปแกล้งเขา...สารพัดสารพันที่เราเองนั่นแหละสรรสร้างมันขึ้นมา จนแล้วจำนวนคนวนอยู่ในลูปนั้น ก็มากจนเป็นหลัก 6000 ล้านคน วนวนวนวนวนวนวน....จนร่างกายสิ้นอายุขัย หรือหมดสภาพนั้นแล หรือใครโชคร้ายหน่อย สะดุดกระดาษทิชชู่ตาย หรือไม่ดูแลร่างกาย ใช้อย่างเดียว จนสิ่งมีชีวิตตัวเล็กจิ๋วหลิวฆ่าตายซะงั้น จนคนที่วนก็หมดเวลาวน ก็มีคนใหม่เกิดขึ้นมาให้วนอีก เป็นอย่างนี้เรื่อยไป(คนพวกหลังนี่คงตอบคำถามข้อหลังได้แล้วมั้งครับ ไม่มาบอกกันเลย งกชะมัด ^^ ) ชีวิตคุณเป็นอย่างนี้หรือไม่???????? หรือนี่คือ "คำตอบว่า เราเกิดมาทำไม?" (ผมว่าเราก็แค่เกิดมาจากการที่ชายหญิงสองคนเล่นสาหนุกกาน จนไอ้อ๊อด ไปเจอที่ทำรังเข้า คนเลยเกิดมามิใช่รึ ^^)
ไอ้ข้างบนไม่ใช่คำตอบของผม ผมยังตอบไม่ได้ครับ แม้จะอายุปาเข้าไปครึ่งคนครึ่งสัตว์อย่างที่ว่า!! เมื่อตอบไม่ได้ ก็ไม่ต้องหาคำตอบให้เหนื่อยหน่าย (ใช้ชีวิตอยู่ในลูปต่อไป) ผมเลยมาสนใจว่า "ร่างกายเรานี่สิ อัศจรรย์ยิ่งนัก" แต่ก่อนสมัยเด็กๆ ไม่รู้ผมไปได้ยินมาจากใคร หรือเซลประสาทเล็กๆในหัวผมรวมหัวกันคิดได้เอง ว่ามี 2 สิ่งในโลกนี้ที่อัศจรรย์ หนึ่งคือ "ภายในร่างกายของเรา" และสองคือ "ปู้นนนนอกโลก ในจักรวาลอันไกลโพ้น(อาจจะต้องไปถาม James T. Kirk กัปตันยาน USS Enterprise)" ไอ้ข้อหลังชักจะไกลเกินไป แล้วส่วนมากก็เป็นเพียง "ทฤษฎี" ซะส่วนมาก ผมเลย "ถูกบังคับ(เนื่องจากเป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์)ให้หันมาสนใจในร่างกายของตนแทน" แต่ผมก็ไม่ได้เก่งซะขนาดนั้น รวมทั้งขี้เกียจด้วย(แล้วใครจะทำไมฟะ!) ก็รู้อย่างปลาๆงูๆ โดยส่วนที่ผมสนใจที่สุดคือ "สมอง(Brain) และจิต(Mind)" ดังคำที่เขาว่าไว้ "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" ผมเลยอยากเป็นนาย!!
ใน post นี้ก็เลยจะมาว่ากันถึง "Memory" เป็นเบื้องต้น โดยจะกล่าวในส่วน Software ก่อนครับ(เพราะ Hardware มันยากจัง ศัพท์มันเรียกยาก ผมเลยจำไม่ค่อยจะได้)
Memory ของเรา มีอยู่ 3 ส่วน คือ Sensory Memory, Short-term Memory, Long-term Memory ครับ...จบ!
ยัง!!...
Sensory Memory เนี่ย ถ้าจะว่ากัน มันก็คือข้อมูลที่เรารับเข้ามาจากประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น ตา หู จมูก สัมผัสต่างๆ โดย Memory ในส่วนนี้เราสามารถลืมได้ใน 1 วินาทีเท่านั้น ถ้ามันเป็นข้อมูลที่ไม่มีความหมายจะไม่ส่งผ่านไปใน Memory ส่วนต่อไป คือ Short-term Memory ในส่วนนี้เราสามารถลืมได้ภายใน 15-25 วินาที เป็นส่วนที่ข้อมูลที่รับมามีความหมายเป็นที่แรก Memory ในส่วนนี้นั้นมีความสามารถไม่มากนัก ข้อมูลที่สามารถเก็บได้ มีประมาณแค่ 7 items (เรียกว่า Chunk) ถ้าไม่มีการเชื่อมโยงกัน หรือตอกย้ำลงไปจะไม่สามารถส่งผ่านไปยัง Long-term Memory ได้ กระบวนการนี้เรียกว่า "Rehearsal"
ยกตัวอย่าง เช่น ข้อมูลนี้ PBSFOXCNNABCCBSMTVNBC ถ้าเราจัดเรียงเป็นกลุ่มเสียใหม่เป็น PBS FOX CNN ABC CBS MTV NBC เราสามารถจะจำได้ง่ายขึ้น (แบบนี้เขาเรียกว่า Elaborative rehearsal คือ การจัดเรียงข้อมูลตามตรรกะ หรือเชื่อมโยงกับข้อมูลเก่า หรือจำเป็นรูปต่างๆ หรืออื่นๆ)
เมื่อข้อมูลเข้ามาถึงส่วน Long-term Memory เราจะสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด(ตามทฤษฎี) โดยมีการจัดเรียงและเชื่อมโยงข้อมูล(Memory modules)ให้เราสามารถเรียกใช้ได้เมื่อต้องการ โดย Long-term Memory แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Declarative memory (ข้อมูลเกี่ยวกับ"สิ่งต่างๆ" (Fact) เช่น หมวก จักรยานมีสองล้อ) และ Procedural memory(ข้อมูลเกี่ยวกับ "การทำสิ่งต่างๆ" (Skills) เช่น การขี่จักรยาน)
Declarative memory ยังแยกออกเป็น Sematic memory (Facts,ความรู้ทั่วไป,Logic) และ Episodic memory (ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ) เช่น การจำได้ว่า "เมื่อไหร่ และ อย่างไร" ที่เราเรียน 2x2 = 4 คือความจำส่วน Episodic memory แต่ความจริงที่ว่า 2x2 มันเท่ากับ 4 นี่อยู่ในส่วน Sematic memory
ทั้งหมดข้างตนก็คือ พื้นฐานว่าเราเก็บความทรงจำต่างๆกันอย่างไร (ในรูปที่เรียกว่า software ที่คนที่ไม่ได้เรียนมาทางสายแพทย์สามารถเข้าใจได้ครับ ถ้ามีโอกาส ผมยังอยากจะนำเสนอในรูปแบบ hardware ด้วย) สุดท้ายขอสรุปง่ายๆด้วยแผนภาพครับ
ref: Psychology and your life/Robert S. Feldman/McGraw-Hill
สายัณห์สวัสดี
เขียนดีมากๆค่ะ :)
ReplyDelete