ภาพจาก ที่นี่
ตอนที่แล้วของ จำกันบ่ได่ก๋า: ตอน Memory ผมได้กล่าวถึง กระบวนการในการรับข้อมูลเข้ามาสู่ความจำของเรา และความจำของเรามีการจัดแบ่งส่วนกันอย่างไรบ้าง ถ้าจำกันไม่ได้ก็ย้อนรอยกลับไปดูได้ครับ (แค่ post ก่อนหน้านี่เอง ^^ ) สำหรับ post นี้ ผมจะมาพูดถึงกระบวนการ "Recall (การเอาข้อมูลที่เก็บไว้ออกมา" รวมทั้ง "Forgetting (ทำไมเราถึงจำกันบ่ได่ก๋า)" (แต่ในแนวทางแบบ Software ก่อนนะครับ)
เริ่มต้นเลยก็ขอบอกไว้เลยว่า "ถ้าเราจัดเก็บข้อมูล/สารสนเทศได้ดีมากเท่าไร เราจะยิ่งสามารถนำมันกลับมาได้ง่ายกว่าการจัดเก็บแบบมั่งซั่ว" มันก็เหมือนเราเก็บข้าวของทั่วไปนั่นแหละครับ จัดวางเป็นระเบียบ ก็สืบค้นสืบหาได้ง่าย ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น(ไม่ทราบเหมือนกันว่า "ฉันท์" ในความหมายนี้ควรสะกดแบบที่ว่า หรือ แบบนี้ "ฉัน" ต้องขออำภัยที่ตกภาษาไทย แต่อ่อนภาษาอังกฤษครับ ^^ )
ก่อนที่เราจะเอาข้อมูลใดๆออกมาได้ "บางครั้ง"จะเกิดอาการที่เรียกว่า "คลับคล้ายคลับคล้า หรือว่า คุ้นๆๆแฮะ" ใช่ไหมครับ? ใครเคยเป็นยกมือขึ้น? ภาษาปะกิตเขาเรียกว่า "Recognition" แล้วไอ้คุ้นๆเนี่ย มันเกิดมาจากการที่ เช่น เราไปเห็นหน้าคนๆหนึ่ง แล้วรู้สึกว่าคุ้นๆแฮะ เหมือนเคยเห็นที่ไหน หรือการที่เราได้ยินเสียงคนๆหนึ่ง เราก็คุ้นๆอีกแล้วแฮะ ว่าเหมือนเสียงคนรู้จักเลย หรือว่าเราอ่านหนังสือเจอคำศัพท์ เราก็คุ้นๆอีกแล้วแฮะ แต่เราไม่สามารถนึกได้ว่าเป็นใคร? อะไร? ที่ไหน? ได้อย่างแน่นอน (ก็คือยังไม่เกิดการ Recall ออกมาได้) ไอ้เจ้าหน้าคน,เสียงคน,คำศัพท์ ที่ทำให้เราเกิดความคุ้นๆ คล้ายๆ ละม้าย นี่เขาเรียกว่า "Retrieval cue" มันเป็นตัวกระตุ้นให้เราเกิดการระลึกถึง(Recognition) อ่านๆมาจนถึงตรงนี้ ผมว่า "ไอ้จำได้เลย หรือ Recall" เนี่ย มันยากกว่า "คุ้นๆ คลับคล้ายคลับคลาย ละม้าย หรือ Recognition" มากมายก่ายกอง และไอ้ปรากฎการณ์ละม้ายนี่นะครับ ภาษาทางด้านจิตวิทยาเขาเรียกว่า "Tip-of-the-tounge phenomenon"
การที่เราจะเปลี่ยนการละม้าย คล้ายๆ คุ้นๆ เป็น "ฉันจำได้แน่ (Recall)" เราต้องใส่ใจกับข้อมูล/สารสนเทศนั้นๆ(pay attention) ตั้งแต่รับข้อมูลเข้ามาจาก Sensory memory ส่งข้อมูลที่เป็นความหมายนั้นเข้าสู่ Short-term memory แล้วนำข้อมูลที่มีความหมายนั้นรวมกับข้อมูลเก่าที่มี หรือฝึกฝนบ่อยๆ จนเก็บข้อมูลนั้นไว้ได้ใน Long-term memory ครับ ส่วนข้อมูลที่เราสามารถ "จำได้(Recall)" ออกมาโดยตั้งใจนึก เราเรียกความจำที่เราตั้งใจนึกออกมาได้แบบนี้ว่า "Explicit memory--intentional or concious recollection of memory" ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะถูกดึงออกมาจากส่วน Declarative memory ส่วนการที่เราจำได้โดยประมาณสันชาตญาณ เราเรียกว่า "Implicit memory--not conciously aware" ซึ่งจัดเก็บอยู่ในส่วน Procedural memory นั่นเองขอรับ ยังมีความจำที่นักจิตวิทยาเขาให้คำจำกัดความไว้อีก คือ "Flashbulb memory" ก็คือความจำที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญต่างๆ จริงๆแล้วก็คือการดึงข้อมูลมาจากส่วนของ Episodic memory และ Semantic memory นั่นเองขอรับกระผม
แต่ก็มีนักจิตวิทยาในรุ่นต่อๆมา กล่าวว่าไม่เพียง "การจักเก็บข้อมูลที่ดี" เท่านั้นที่ทำให้คนเรานึกหรือจำอะไรได้ดี และก็มิใช่มีเพียงสิ่งกระตุ้น(Retrieval cues) อย่างเดียวเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆอีก เช่น ประสบการณ์ในอดีต(Previous experience) สถานการณ์ในขณะนั้น(Understanding of the situation) ความคาดหวังต่อเหตุการณ์(Expectation about the situation) การตระหนักถึงพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์นั้นๆ(Motivations underlying the behaviors of others) เช่น เราเห็นหน้าใครคนหนึ่ง ถ้ามีเพียงแค่ Retrieval cue คือ หน้าของบุคคลนั้น เราอาจจะแค่คุ้นๆ ละม้าย คล้ายคลึง แต่ถ้าในอดีต เราเคยมีประสบการณ์ที่ดีมากหรือแย่มาก กับหน้าคนผู้นั้น(เช่น เคยรักใคร่ชอบพอกันมาก่อน หรือเคยเกลียดกันมาก่อน) อาจทำให้เราเรียกความจำของเราออกมาได้ชัดเจนกว่า ถ้ามองในมุมมอง Hardware(ผมจะพยายามกล่าวถึงการทำงานในระดับ Neuron cell ต่อไปครับ) กล่าวคือ Neuron หนึ่งเซล จะส่งกระแสเชื่อมโยง(link)กัน จนเราสามารถจดจำอาจจะถึงภาพเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญเกี่ยวกับบุคคลผู้นั้นได้ แม้เวลาจะล่วงเลยไปนานแล้วก็ตาม และเราไม่เคยได้ใช้ความทรงจำในส่วนนั้นมานานมากแล้วก็ตาม กล่าวได้ว่า "การสลายไปตามการณ์เวลา(Decay)" ไม่ได้ทำให้เราหลงลืมข้อมูลไปทั้งหมด
แล้วอะไรทำให้เราลืม(Forgetting) มีอยู่อีกสองประเด็นที่นักจิตวิทยาเขาว่ากันไว้ครับ คือ "การถูกขัดจังหวะ(Interference)" และ "มีสิ่งกระตุ้น(Cue-dependent forgetting--not enough retrieval cues)ไม่เพียงพอ"
Cue-dependent forgetting เช่น เราลืมกุญแจทิ้งไว้ที่บ้าน แล้วก็ออกจากบ้านไปทำงานโดยปกติ จนเราถึงที่ทำงาน ซึ่งเราต้องใช้กุญแจไข เราถึงนึกได้ว่าเราลืมกุญแจทิ้งไว้ที่บ้าน
Interference เช่น เราเรียนภาษาฝรั่งเศส แล้วไปเรียนภาษาสเปนต่อ และมี Test ภาษาสเปน แต่เราดันจำภาษาฝรั่งเศส ได้อยู่ เลยทำ Test ภาษาสเปนไม่ได้ อย่างนี้ภาษาฝรั่งเศสคือ Interference ซึ่งเรียกว่า "Proactive Interference" ยกตัวอย่างเดิม แต่เปลี่ยน Test ภาษาฝรั่งเศสแทน แล้วทำไม่ได้ อย่างนี้การเรียนภาษาสเปนเป็น Interference ที่เรียกว่า "Retroactive Interference"
แล้วทำอย่างไรถึงจะมีความจำดี??? ผมว่าก็ save ใส่ SD card ดังในภาพประกอบ post ดูก็น่าจะดี พอต้องการใช้ก็เอามาเสียบแล้วอ่านเอาข้อมูลออกมา !!! ดีไหมครับ??? ^^/
จริงๆแล้วผมว่าอย่างที่ผมบอกตอนต้น ก็จัดการเก็บข้อมูล/สารสนเทศที่รับเข้ามาให้ดีตั้งแต่ต้น โดยการใช้วิธีของแต่ละบุคคลที่ถนัด ก็อย่างเช่น เชื่อมโยงข้อมูลนั้นกับข้อมูลที่เราคุ้นเคย จด Note และพยายามนึกถึง Lecture ที่เข้าฟัง หรือฝึกฝนฝึกทำบ่อยๆจนคล่อง หรือใครอาจจะชอบท่องจำแบบพิศดาร หรือพยายามจดจำแบบรู้ความหมายของมัน ฯลฯ
แต่ที่แน่ๆ นักจิตวิทยาเขาเตือนไว้ครับ ว่าไม่ต้องไปพึ่งยาที่โฆษณาหรอกครับ เพราะไม่มีผลการวิจัยสนับสนุนว่าช่วยได้ ผมก็ไม่ทราบข้อเท็จจริงหรอกครับ ก็เอามาเล่าให้ฟัง (แต่ส่วนตัวผมว่ามันก็คงมีสารเคมีอะไรอยู่บ้าง และมันเป็นกลไกทางจิตวิทยาที่ทำให้เรารู้สึกว่า เออเว้ย เรากินยาแล้ว อ่านหนังสือต้องจำได้ดีแน่ มันก็เลยทำให้เราอ่านหนังสือจั๋งนั้นแหละครับ ^^)
ก็ขอกล่าวสวัสดีกันตรงนี้กับ post นี้
Ref: Psychology and your life/Robert S. Feldman/McGraw-Hill
No comments:
Post a Comment