Thursday, November 18, 2010
Sunday, November 7, 2010
คิด คิด เท่าไร คิดไม่ออกซะที?
รูปนี้มาจากที่นี่
"คิด คิด เท่าไร คิดไม่ออกซะที?" ผมดึงเอา Long-term memory ที่เคยฟังเพลงนี้ น่าจะของวง XYZ กระมั้งถ้าจำไม่ผิดครับ--เห็นไหมถึงแม้นึกออก ก็ยังได้ข้อมูลมาไม่สมบูรณ์ นี่ก็เรียกว่า Recognition อย่างไรละครับ หวังว่าคงจะ"จำกันไม่ได้"--เพราะไม่งั้นผมก็ไม่มีอะไรจะเขียนอีกต่อไป ^^
วันนี้เราจะมาว่ากันถึง การคิด(Thinking) โดยการคิด หรือ Thinking นี้ มันคือการรวบรวม memory ในส่วนต่างๆที่เรารับรู้เข้ามาจากประสาทสัมผัสต่างๆ(Sensory memory) รวมกันจนเป็น "ข้อมูลที่มีความหมาย" โดยอาจจะเชื่อมโยงกับประสบการณ์(Experience) และ การเรียนรู้(Learning) ของเราในอดีต(หรือขณะปัจจุบัน) ที่เก็บอยู่ใน Long-term memory ของเรานั่นเอง เพื่อที่เราจะได้สามารถแก้ปัญหา(Problem Solving) เพื่อบรรลุจุดหมายของเราได้จากการคิดนั้นนั้น นี่คือคำจำกัดความของ "การคิด(Thinking)" นั่นเองครับ (ซึ่งจริงๆแล้วผมเองยังสงสัยว่า ภายใน "สมอง" ของเราเนี่ย อะไรมันทำงานอย่างไรอยู่เช่นเดิม แล้วไว้ผมจะพยายาม "หาข้อมูลมาป้อนใส่ memory ของผม เพื่อที่ผมจะได้เรียนรู้มัน และสามารถคิดจนได้จบกระบวนการ")
คิดว่าเราคงจะรู้จัก และเคยเล่นไอ้ก้อนลูกบากศ์ที่มีสีอยู่หกสี(รูบิค--Rubik cube)ในรูปข้างต้นกันไม่มากก็น้อยนะครับ มี VDO สอนการเล่นด้วยครับ(ไอ้ยูทูปนี้มันมีสารพัดจริงๆ!!)
ไอ้ผมเองก็เคยเล่นเหมือนกันตอนดูโลกมานานสัก 10 ปีได้กระมั้งครับ ให้ทายว่าผมแก้มันสำเร็จไหม? ^^ สำเร็จครับ แต่โกง! 555 แล้วตอนนี้หละ ดูโลกมาเกือบ 40 ปี (ตูแก่ขนาดนี้แล้วหรือฟะ!!!) ก็ยังทำไม่ได้เหมือนเดิมครับ! (เพราะไม่ได้เล่นมันอย่างจริงจัง หรือเพราะปัญญามีแค่นี้ก็ไม่มีใครทราบได้) เห็นใน YouTube มี VDO บอกว่าเด็กน้อยชาวจีน อายุแค่ 3 ปี แก้ได้ใน 114 วินาที!!!
สมมติว่าไอ้เจ้ารูบิคคือปัญหาที่เราจะแก้มัน เราควรทำอย่างไร? สวดมนต์อ้อนวอนเทพยดาฟ้าดินให้เราแก้ปัญหารูบิคอันพิศดารได้ด้วยเถิด ^^ ?? ม่ายช่ายยย!!
ก่อนอื่นทุกคนโดยทั่วไปก็จะมองดูมัน หรือหยิบจับมันมาลองหมุนเล่นดูซิ หลังจากหยิบจับมันมาพิศดูรูปลักษณ์ ก็สรุปว่าทำไม่ได้ กลับบ้านนอนดีกว่า!! ใจเย็นๆครับ ใจเย็นๆ ในที่สุดก็มีคนตะโกนบอกว่า (ทำไมต้องตะโกนก็มิทราบได้ ^^) "ผลสำเร็จที่ต้องการก็คือ ทำการบิดไอ้เจ้ารูบิคนี้จนมันมี 6 หน้า 6 สี ไม่ซ้ำกัน" ไอ้นี้ก็คือเป้าหมายของเกมนี้ ไอ้ตรงนี้ ภาษาทางจิตวิทยาเขาเรียกว่า "Mental Images" คือการรับรู้ถึงปัญหาผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งหมด (ตาดู หูฟัง กายสัมผัส)
ซึ่ง Mental Images ที่เรามีต่อไอ้คุณรูบิคนี่ เราอาจเคยรู้จักมันมาก่อน หรือเพิ่งจะเคยเห็นมันครั้งแรกก็ตามที(เชยจัง!) จากประสบการณ์ที่อยู่ในความจำของเรา เราก็อาจจะสรุปได้ว่า "อ้อ นี่คือเกมที่อาศัยตรรกะ(Logic)ในการแก้ปัญหาชนิดหนึ่งนี่" การที่เรา "อะอ้อ!" ว่ามันคือเกม ภาษาทางจิตวิทยาเขาเรียกว่าเรากำลังให้ "Concepts" กับปัญหาที่เราพบ แต่หากว่าคุณคือ "ชาวป่าในแอฟริกา" ซึ่งไม่เคยเห็นไอ้คุณรูบิคมันมาก่อนเลยในชีวิต คุณอาจจะให้ Concepts ว่ามันคือ "ก้อนหิน" ก้อนหนึ่งเท่านั้น นี่เขาเรียกว่า Perception ต่างกัน (Perception ก็คือ การที่เราเห็นสิ่งเร้าสิ่งหนึ่ง แล้วพยายามสร้างภาพมันขึ้นมาให้มีความหมาย ตามที่ประสบการณ์ของเรามี)
หลังจากเรารับรู้สภาพของปัญหา(Mental Images) แล้วอาศัยความรู้ประสบการณ์ที่เรามีบอกตัวเราว่าปัญหามันคืออะไร(Concepts) แล้ว ต่อไปเราก็จะทำการ"ตัดสินใจ"แก้ปัญหานั้นอย่างไรก็ตามแต่ ทางจิตวิทยาเขาเรียกกระบวนการนี้ว่า "Problem Solving or Decision Making or Reasoning" ซึ่งเราต้องอาศัยอีกสิ่งหนึ่งในการแก้ปัญหานั้นเรียกว่า "Cognition" โดยอาจจะทำตามใน VDO ข้างต้นในการแก้ปัญหารูบิคนี้ โดยที่ก็ไม่ทราบอย่างแท้จริงว่ามันต้องแก้แบบนั้นเพราะอะไร เหมือนๆกับการที่เราทำตามกฎ หรือ Instuction ที่เขาบอกมาว่าแก้ไขได้แน่ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า "Algorithm" หรือเราอาจจะลองแก้ปัญหาด้วยตัวเราเองโดยอาศัยความรู้ที่มี แต่ก็ไม่แน่ใช่ไหมครับว่าเราจะแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเราเอง กระบวนการแบบนี้เรียกว่า "Heuristic" (ถ้าเปลี่ยนปัญหาเป็น "การสร้าง Software ป้องกันไวรัส Computer" Algorithm ก็ใช้สำหรับ virus ที่เราทราบวิธีการทำงานของมันแล้ว ส่วน Heuristic ก็คือขั้นตอนหรือกระบวนการที่เราคิดขึ้นไว้กำจัด virus computer ที่มีคนมือบอนอยู่ไม่สุข ชอบอวดศักดาอภินิหาร สร้างขึ้นมาใหม่นั่นเองครับ)
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ตัวเราเองนี่แหละครับมีอยู่ก็คือ "Mental Set" ที่เกิดจากประสบการณ์(Experience)ของเรา ความรู้(Knowledge)ของเรา วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม(Culture and Surrounding)ที่เราอาศัยอยู่ และรวมถึงทัศนคติ(Attitude) ที่จะมาบดบังการแก้ปัญหาของเรา ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราสะดุดขาตัวเองล้มก็มีนะครับ ^^ เช่น เมื่อสักครู่ผมได้ดู VDO การแก้ปัญหาเจ้ารูบิค ด้วย Algorithm หนึ่ง โดยเขาจะหาเพลทสีหนึ่งที่อยู่ตรงกลาง แล้วพยายามแก้ให้ได้หน้ารูบิคหนึ่งหน้าเป็นสีนั้น โดยใช้ Algorithm ของเขา สิ่งที่ผมรับเข้ามานี้ เกิดเป็น Mind Set ของผมไปแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่งครั้งต่อไปถ้าผมพยายามเล่นเกมเจ้ารูบิคเนี่ย ผมก็อาจจะติด Mind set นี้ไปด้วยครับ ^^ ซึ่งจริงๆแล้วอาจมีวิธีการอื่นๆ(Algorithm อื่นๆ หรืออาจจะเป็น Heuristic ของผมเองก็ได้ ใครจะรู้ 555)ซึ่งง่ายกว่านั้นก็เป็นได้
ก็ขอจบ post นี้ด้วยประการนี้
เอวัง
ref: Psychology and your life/Roberts S. Feldman/McGraw-Hill International edition
Subscribe to:
Posts (Atom)